ข้อมูลทั่วไปที่ควรรู้

การเตรียมตัวก่อนการเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอเมริกา

 

ก่อนการเดินทางสิ่งที่ควรพิจารณานำตัวมีดังนี้

1. เงินติดตัวเดินทาง นักศึกษาควรแลกเงินสดเป็นดอลลาร์ติดตัวไป เพื่อให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในช่วงแรกเท่านั้น ในส่วนที่เหลือ ควรทำเป็น Bank Draft หรือ Traveler‘s Check ซึ่งปลอดภัยกว่า นักศึกษาสามารถนำ Bank Draft หรือ Traveler’s Check ไปเปิดบัญชีที่ธนาคารในประเทศอเมริกาได้

Bank Draft เป็นเอกสารที่ระบุชื่อผู้เดินทางและระบุจำนวนเงิน สามารถนำเข้าไปฝากเข้าบัญชีกับธนาคารได้โดยใช้เวลาในการเรียกเก็บประมาณ 2- 15 วันหากเกิดการสูญหายสามารถแจ้งธนาคารผู้ออกเอกสารให้ยกเลิกและออกใบใหม่ได้ ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมในการออกเอกสาร 100-200 บาทและค่าอากร 3 บาท ต่อ 1 ฉบับ
Traveler’s Check เป็นเอกสารซึ่งผู้เดินทางสามารถใช้ได้แทนเงินสดแต่ต้องเซ็นต์ชื่อในเช็ค 1 ครั้งตอนที่ชื้อ และอีกครั้งที่นำไปชำระเงินพร้อมหนังสือเดินทาง หากเอกสารประเภทนี้สูญหาย สามารถให้ธนาคารในต่างประเทศออกทดแทนให้ใหม่ได้โดยทั่วไปธนาคารคิดค่าธรรมเนียม 1% ของมูลค่าเช็คเดินทางและค่าอากร


2. เสื้อผ้า นักศึกษาควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ และภูมิประเทศของสถานที่ที่เรากำลังจะเดินทางไปให้ดี รวมถึงช่วงที่เราเดินทางอยู่ในฤดูอะไร ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถเตรียมเสื้อผ้าที่จำเป็นและเหมาะสมได้แต่ไม่ควรนำติดตัวไปมากเกินไปเนื่องจากเมื่อนักศึกษาเดินทางไปถึงสามารถหาซื่อเสื้อผ้าที่เหมาะสมและเข้ากับคนที่นั่นได้มากกว่า โดยเน้นในเรื่องความสะดวกสบาย สำหรับในระดับบัณฑิตศึกษาอาจแต่งตัวเป็นทางการมากกว่า นอกจากนี้ นักศึกษาไทยอาจพิจารณานำเสื่อผ้าประจำชาติดตัวเผื่อไปด้วยสำหรับการเข้าร่วมงานสังคมบางโอกาส

3. หนังสือ/เอกสารการเรียน นักศึกษาควรนำพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ติดตัวไปด้วย นอกจากนี้อาจนำเอกสารอ้างอิงภาษาไทยเกี่ยวกับหลักสูตรที่กำลังจะไปศึกษาไปด้วย ซึ่งจะช่วยได้มากในช่วงแรกของการเข้าศึกษา

4 . ยาประจำตัว นักศึกษาควรนำยาประจำตัวติดตัวไปด้วย เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้ปวดหัว แก้ท้องเสียหรือ ยาดม ทั้งนี้เนื่องจากในประเทศอเมริกา การซื่อยาส่วนใหญ่จะต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้นจึงจะซื้อได้นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆก็ควรนำยาที่ใช้ประจำไปด้วยโยจัดให้เป็นสัดส่วนและบรรจุในภาชนะที่มีเอกสารบอกชนิดและส่วนประกอบของยาเป็นภาษาอังกฤษด้วย
5. อาหาร การนำอาหารแห้งติดตัวไปด้วยเป็นสิ่งที่สามรถกระทำได้แต่ไม่แนะนำ เนื่องจากตามเมืองใหญ่ๆ นักศึกษาสามารถหาซื้ออาหาารและเครื่องปรุงจากเมืองไทยได้โดยไม่ยากนัก สำหรับอาหารสด นักศึกษาไม่ควรนำติดตัวไปไปอย่างเด็ดขาด

6. เอกสารการเดินทาง ด้านการเรียนและเอกสารอื่นๆ ก่อนการเดินทาง นักศึกษาควรเตรียมเอกสารการเดินทางให้พร้อม รวมถึงเอกสารเกี่ยวกับการเรียนที่พัก และผู้สามารถติดต่อได้ โดยทำสำเนาเอกสารทุกอย่างให้ผู้ปกครองที่ประเทศไทยเก็บไว้ด้วยในการอ้างอิง

 

นักศึกษาควรวางแผนการเดินทางให้ไปถึงสถานศึกษา 2-7 วัน ก่อนวันเริ่มต้นการศึกษา กองตรวจคนเข้าเมืองจะอนุญาตให้เข้าประเทศได้ 90 วัน ก่อนวันเปิดหลักสูตรตามที่กำหนดไว้ในเอกสาร I-20 และไม่สามารถเข้าประเทศหลังจากวันที่กำหนดไว้ได้ บางสถาบันอาจต้องจัดให้นักศึกษาไปหาที่พักชั่วคราวก่อนถ้าเดินทางมาถึงก่อนหลายวัน

        เมื่อถึงวันเดินทาง นักศึกษาควรนำเอกสารสำคัญต่าง ๆ ติดตัวไว้ไม่ควรใส่ไว้ในกระเป๋าใหญ่เนื่องอาจมีปัญหากระเป๋าหายหรือมาล่าช้า โดยทั่วไป สายการบินกำหนดให้ผู้ที่เดินทางไปประเทศอเมริกาสามารถนำกระเป๋าใบใหญ่นำติดตัวไว้ได้ 2 ใบ แต่ละใบหนักไม่เกิน 32 กิโลกรัม (บางสายการบินให้น้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อ 1 ใบ กรุณาตรวจสอบกับสายการบินนั้นๆ) สำหรับกระเป๋าติดตัวนำขึ้นเครื่องไม่ควรมีขนาดใหญ่จนเกินไป เนื่องจากต้องใส่ไว้บนที่บรรจุของในเครื่องและไม่ควรมีน้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม (บางสายการบินสามารถให้น้ำหนักมากกว่านั้น) นอกจากนี้นักศึกษาควรไปถึงสนามบินอย่างน้อย 2 ชั่วโมงล่วงหน้าและเสียภาษีเดินทางออกนอกประเทศ 700 บาท

ในกรณีที่มีการเปลี่ยนเครื่องบินในระหว่างการเดินทางนักศึกษาควรสอบถามเจ้าหน้าที่สายการบินให้แน่นอนว่าสามารถ check in ทั้ง 2-3  ช่วงจากประเทศไทยได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ นักศึกษาต้องไป check  in  ที่สนามบินปลายทางของช่วงแรก นักศึกษาควรระมัดระวังและสังเกตประตูที่ต้องไปขึ้นเครื่องของช่วงการเดินทาง เนื่องจากสนามบินบางแห่งมีขนาดใหญ่มาก และมีประตูขึ้นเครื่องมากกว่า 100 ประตู การเดินทางไปขึ้นเครื่องที่ประตูหนึ่งอาจต้องนั่งรถใต้ดินหรือรถบัสไปดังนั้น นักศึกษาควรสอบถามเจ้าหน้าที่สายการบินเกี่ยวกับการเดินทางไปประตูขึ้นเครื่องล่วงหน้าด้วยนอกจากนี้ ควรสังเกตเวลาท้องถิ่นของสนามบินที่เราไปถึงด้วย เนื่องจากเวลาขึ้นเครื่องแต่ละช่วงจะเป็นกำหนดเวลาท้องถิ่น ซึ่งจะแตกต่างจากเวลาของประเทศไทย ดังนั้น นักศึกษาควรปรับเวลานาฬิกาของตนเองด้วยทุกครั้งเพื่อป้องกันความสับสนเกี่ยวกับเวลาขึ้นเครื่อง โดยทั่วไป การเดินทาง และย้ายเครื่องบินที่สนามบินนานาชาติ นักศึกษาไม่จำเป็นต้องขนย้ายกระเป๋าใบใหญ่เอง

นักศึกษาที่จะต้องย้ายจากสนามบินนานาชาติมาสนามบินภายในประเทศ อาจต้องไปรับกระเป๋าเดินทางก่อน และผ่านขั้นตอนด้านการตรวจคนเข้าเมืองและขั้นตอนด้านศุลกากรก่อนจึงสามารถเดินทางไปสนามบินภายในประเทศได้

 

ตรวจดูเอกสารการเข้าเมือง*

เมื่อคุณได้รับวีซ่าชั่วคราวของสหรัฐจากสถานทูตหรือสถานกงสุลในประเทศของคุณ  เจ้าหน้าที่กงสุลจะนำเอกสารการเข้าเมืองใส่ซองปิดผนึกติดไว้กับหนังสือเดินทาง  อย่าเปิดซองนั้น  เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐ  ณ  จุดที่คุณเข้าประเทศจะเปิดซองเอง  เอกสารต่อไปนี้  ควรนำติดตัวไปกับคุณและอย่านำไปเก็บไว้ในกระเป๋าที่ตรวจเช็คขึ้นเครื่อง

  • หนังสือเดินทาง
  • วีซ่า
  • แบบฟอร์ม  I-20  A-B  แบบฟอร์ม  I-94  A-B  หรือแบบฟอร์ม  DS-2019
  • หลักฐานการสนับสนุนทางการเงิน

 

บางครั้งก่อนคุณไปถึงสหรัฐ  พนักงานบนเครื่องบินจะแจกแบบฟอร์มการแจ้งรายการสิ่งของสำหรับศุลกากรและแบบฟอร์มการเดินทางขาเข้า – ขาออกสำหรับการตรวจคนเข้าเมือง  (I-94)  ขอให้กรอกแบบฟอร์มต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองหลังลงจากเครื่องบินแล้ว  ถ้าคุณไม่เข้าใจแบบฟอร์ม  ให้ขอความช่วยเหลือจากพนักงานบนเครื่องบินทันทีที่ออกจากเครื่องบิน  ให้ตามผู้โดยสารอื่น ๆ ให้เข้าไปบริเวณที่สำรองไว้สำหรับผู้โดยสารขาเข้า  เจ้าหน้าที่จะขอให้คุณเข้าแถวหน้าหน่วยตรวจคนเข้าเมือง  เมื่อใกล้ถึงคุณแล้ว  ให้เตรียมหนังสือเดินทางแบบฟอร์ม  I-20 หรือแบบฟอร์ม  DS-2019 และแบบฟอร์ม  I-94 (บัตรขาเข้า– ขาออก )  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจสอบ  เจ้าหน้าที่มักสอบถามวัตถุประสงค์ในการเข้าสหรัฐและที่หมายปลายทางสุดท้ายของคุณ  คำตอบที่เหมาะสมคือ  “ไปเรียนที่ไหน  (ชื่อสถาบัน)  ใน  (ชื่อเมือง  รัฐ)”

หน่วยศุลกากรสหรัฐ*

หลังผ่านบริเวณตรวจคนเข้าเมืองแล้ว  คุณจะต้องไปรับกระเป๋า  แล้วนำไปผ่านหน่วยศุลกากร  เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะขอให้คุณแจ้งสิ่งที่คุณได้นำเข้ามาในประเทศ  พร้อมตรวจกระเป๋าของคุณและตรวจดูแบบฟอร์มที่คุณกรอกบนเครื่องบิน  โทษสำหรับการปกปิดสิ่งของต้องสำแดงอาจรุนแรงมาก  ดังนั้น  ขอให้ซื่อสัตย์และแจ้งรายการสิ่งของให้ครบถ้วน

สิ่งของสำหรับการใช้ส่วนตัวอาจนำเข้าสหรัฐได้โดยไม่ต้องเสียภาษีอากรในฐานะไม่ใช่ผู้อยู่อาศัย  คุณยังได้รับอนุญาติให้นำของขวัญที่มีมูลค่ารวมกันถึง  100  ดอลลาร์เข้ามาได้โดยไม่ต้องเสียภาษี  ถ้ามูลค่าของสิ่งของทั้งหมดรวมกันเกิน  100  ดอลลาร์  คุณจำเป็นต้องจ่ายภาษี

คุณต้องแจ้งจำนวนเงินที่นำติดตัวมา  แต่คุณไม่ต้องจ่ายภาษี  คุณอาจนำเงินในจำนวนใด ๆ เข้ามาหรือนำออกไปจากสหรัฐได้  แต่ผู้ใดที่นำเงินเข้ามาในประเทศมากกว่า  10,000  ดอลลาร์ต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรสหรัฐ  สิ่งของเฉพาะอย่างเป็นสิ่งของต้องห้ามหรือมีข้อจำกัด  รวมทั้งพืช  ผลไม้  เนื้อสัตว์  ผัก  เสื้อผ้าที่ทำจากหนังของสัตว์ที่ถูกคุกคาม  สลากล๊อตเตอรีสิ่งของหรือสิ่งตีพิมพ์ลามกอนาจาร  และมีดที่เปลี่ยนใบมีดได้  ยาที่ไม่มีใบสั่งจากแพทย์หรือยาเสพติด  เช่น  บาร์บิทูเรต  แอมฟีตามิน  และกัญชา  เป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเข้มงวดเช่นกัน

(*ยกข้อมูลมาจาก หนังสือ “หากคุณต้องการไปศึกษาในสหรัฐ” (Education USA) เล่ม 4 (สำนักงานกิจการด้านการศึกษาและวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศ)

 

การเดินทางไปที่พัก / สถาบันการศึกษา
        นักศึกษาที่เจ้าหน้าที่จากสถาบันการศึกษามารับ เจ้าหน้าที่จะพาไปยังที่พักได้โดยตรง สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้เตรียมการให้คนมารับจะต้องเดินทางไปยังที่พักเอง ถ้านักศึกษาใช้บริการเจ้าหน้าที่ช่วยยกกระเป๋าที่สนามบินจะต้องจ่ายค่าบริการ ซึ่งโดยทั่วไปจะประมาณ US$ 1 ต่อกระเป๋า 1 ใบจากนั้นจึงออกมาบริเวณด้านนอกของสนามบินเพื่อเดินทางไปยังที่พัก
       
ทางเลือกในการเดินทางมีดังนี้

  • บริการรถบัสของสนามบิน:  สนามบินขนาดใหญ่ส่วนมาจะมีบริการรถบัสของสนามบิน ให้บริการระหว่างสนามบินและตัวเมือง ซึ่งอัตราค่าบริการไม่สูง และมีความสะดวกสบาย
  • แท็กซี่: ซึ่งมักเรียกกันว่า taxicabs หรือ cabs เป็นบริการที่สะดวกที่สุด แต่ค่าใช้จ่ายอาจจะสูงมากเนื่องจากสนามบินมักตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 24-32 กิโลเมตร นักศึกษาที่ใช้บริการแท๊กซี่ต้องระลึกไว้ด้วยว่าด้วยว่าต้องให้ทิปคนขับรถประมาณ 15% ของค่าบริการตามมิเตอร์ และบริการเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยสำหรับการขนกระเป๋า
  • การบริการรถโดยสารประจำทาง: รถประจำทางบางสายอาจให้บริการที่สนามบินด้วย นักศึกษาควรสอบถามเจ้าหน้าที่ของสายการบินเมื่อไปถึง

 

ก่อนออกเดินทางไปศึกษาต่อประเทศออสเตรเลีย อังกฤษและประเทศอื่นๆ นักศึกษาควรจะเตรียมตัวอะไรบ้าง

  • ควรจะไปหาหมอฟัน เพื่อรักษาฟัน ตรวจเช็คสายตาให้เรียบร้อย (ค่ารักษาที่ต่างประเทศมีราคาสูง และการประกันสุขภาพของ ไม่คุ้มครองเรื่องสายตา กายบำบัดและและเกี่ยวกับทันตกรรม
  • เตรียมยาสามัญประจำบ้านไปด้วย อย่างเช่น ยาแก้หวัด แก้ไอ แก้ปวด ควรจะมีสลากยากำกับด้วย อาจจะซื้อกับองค์การเภสัช ถ้านักศึกษาต้องนำยาเฉพาะโรค นักศึกษาจะต้องมีใบรับรองตัวยาจากแพทย์ด้วย
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องเล่น MP3/ MP4/Recorder หรืออื่นๆ เพื่อนำไปฝึกฟังภาษาอังกฤษ หรือใช้อัดบรรยายในการเรียนของวิชาต่างๆ โน้ตบุ๊คเพื่อใช้ในการทำรายงานและค้นคว้าข้อมูลทางอินเทอเน็ต ไฟฟ้าที่ใช้ภายในประเทศออสเตรเลียและประเทศอังกฤษ จะเป็นระบบ 240 V. AC. 50 HZ เหมือนประเทศไทยแต่แตกต่างกันในลักษณะของปลั๊กไฟ ซึ่งจะเป็นปลั๊กกชนิด 3 ขา
  • ตรวจเช็คและจัดเตรียมเอกสารสำคัญและจัดเก็บใส่แฟ้มเอกสารให้เรียบร้อยก่อนเดินทาง ได้แก่*
  • หนังสือเดินทาง และวีซ่า (นำติดตัวขึ้นเครื่องบิน)
  • เอกสารการตอบรับจากโรงเรียน/วิทยาลัย/มหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย หลักฐานการชำระเงินและลงทะเบียน (Offer letters, Confirmation of Enrolment (COE (สำหรับออสเตรเลีย))) (นำติดตัวขึ้นเครื่องบิน)*
  • รูปถ่ายติดบัตรขนาด 1.5 นิ้ว ถึง 2 นิ้ว
  • เอกสารการเรียนที่ผ่านมาแหละหลักฐานการทำงาน ฝึกงาน (ถ้ามี) ฉบับจริงพร้อมสำเนา เช่น Transcript, หนังสือรับรองการจบ (Grauduation Diploma/Certificate) , Academic/Work References, ผลสอบ IELTS/TOEFL (ถ้ามี) และอื่นๆ*
  • จัดเตรียมอุปกรณ์การเรืยน เช่น ปากกา ดินสอ สมุด แม็ค ที่เจาะรู เป็นต้น
  • จัดเตรียมอุปกรณ์เสริมการเรียน เช่น Dictionary ไทย-อังกฤษ และ อังกฤษ-ไทย, อังกฤษ-อังกฤษ (ซึ่งจะมีตัวอย่างการแต่งประโยค)  Dictionary เฉพาะสาขา การใช้คำศัพท์ การแต่งเรียงความ
  • ในกรณีนักศึกษาเปลี่ยนสาขาวิชาเรียน เช่น จบปริญญาตรีด้านภาษาศาสตร์ แต่ไปเรียนต่อในสาขาธุรกิจ นักศึกษาควรซื้อหนังสือภาษาไทยเกี่ยวกับพื้นฐานที่เราจะเรียน จะทำให้การอ่านตำราภาษาอังกฤษได้เข้าใจดีขึ้น
  • เตรียมใบขับขี่นานาชาติไปด้วย จะใช้ได้ 1 ปี

(* นักเรียนควรจัดเอกสาร 1 ชุดให้ผู้ปกครองเก็บไว้ที่ประเทศไทยด้วย)

 

  • จัดเตรียมเอกสารสำคัญ สิ่งของมีค่าไว้ในกระเป๋าถือติดตัวขึ้นเครื่องบิน ตรวจเช็คความเรียบร้อยว่ามี

ครบก่อนออกเดินทาง เช่น หนังสือเดินทางพร้อมวีซ่า  เอกสารการตอบรับทางทางโรงเรียน ใบยืนยันการลงทะเบียนเรียน ตั๋วเครื่องบิน เงินสด เช็คเดินทาง หรือสิ่งของมีค่าอื่นๆ ควรเก็บไว้ในกระเป๋าที่นำติดตัวขึ้นเครื่องบิน ควรล็อคกระเป๋าสัมภาระทุกใบพร้อมทั้งติดป้ายชื่อ ที่อยู่เบอร์โทรศัพท์ให้เรียบร้อย

  • นำเงินสดติดตัวเพียงพอไปใช้จ่ายในช่วง สองถึงสามสัปดาห์แรก ในช่วงแรกนักเรียนควรนำเงินสดติดตัวไปประมาณ A$1,500-A$1,800 สำหรับใช้จ่าย ค่าที่พักค่าครองชีพเดือนแรก (ถ้าจ่ายค่าที่พักแล้วอาจนำติดตัวไปประมาณ A$1000-A$1,200) สำหรับอังกฤษควรเตรียมไปประมาณ £ 1,000-£ 2,000  พร้อมกันนี้ควรซื้อเช็คเดินทาง ตั๋วแลกเงินหรือ Bank Draft ติดตัวไปด้วยเพื่อทำการเปิดบัญชีธนาคารซึ่งจะใช้เวลาในการเบิกจ่ายประมาณ 5 วันทำการ 

 

  • การจัดเตรียมเสื่อผ้า ควรศึกษาสภาพภูมิอากาศของประเทศนั้นๆก่อนเดินทาง  ควรนำเสื้อผ้าค่อนข้างหนา เพราะอากาศในต่างประเทศค่อนข้างหนาวเย็น  เสื้อผ้าควรจะเป็นเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นต้องรีด เช่น เสื้อยืด  กางเกงยีนส์ และควรจะซื้อถุงมือ ถุงเท้าไปด้วย ผ้าพันคอ เป็นต้น สำหรับนักศึกษาหญิงควรซื้อชุดชั้นในไปจากเมืองไทย เพราะทางต่างประเทศขนาดจะใหญ่กว่าคนไทยนอกนี้ควรจัดเตรียมเสื้อผ้าสำหรับงานทางการหรือชุดประจำชาติไปด้วยอย่างน้อย 1  ชุดเพื่อประกอบกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่นั่น
  • การเดินทางไปที่สนามบิน นักศึกษาควรเดินทางไปถึงสนามบินล่วงหน้าอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อทำการ เช็คอิน นักศึกษาจะต้องเตรียมเงินสดเพื่อเสียภาษีสนามบินด้วย 700 บาท ควรตรวจสอบตัวเครื่องบิน ตารางเวลา หนังสือเดินทาง วีซ่าให้เรียบร้อยก่อนการเดินทางออกจากบ้าน กระเป๋าเตินทางนำเข้าเครื่องน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม และนำขึ้นเครื่องได้อีกไม่เกิน 5 กิโลกรัม (อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) หากนักศึกษาท่านจำเป็นต้องนำสัมภาระน้ำหนักเกินที่กำหนดจะต้องติตต่อสายการบินล่วงหน้าเพื่อทำการผ่อนผัน หรือชำระค่าบริการเพิ่มเติม
  • การผ่านศุลกากร  ผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลียจะต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของด่านศุลกากรออสเตรเลียอย่างเคร่งครัด นักศึกษาจะต้องกรอก แบบฟอร์ม Arrival Form ในการเดินทางเข้าประเทศและ Declaration Form (ใบสำแดงสัมภาระ) สำหรับสิ่งต้องห้ามนำเข้าออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษและประเทศอื่นๆได้แก่ ห้ามนำอาหาร พืช และสัตว์ สินค้าต้องห้าม (ยาเสพติด วัตถุไวไฟ อาวุธทุกชนิด) เป็นต้น